Custom Search

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การขออภัยโทษ (Forgiveness)

เมื่อมีคนที่ทำผิดกฎหมาย และได้รับการลงโทษ ไม่ว่าจะได้รับโทษไปแล้วกี่มากน้อยเพียงใด หรือยังรอรับการลงโทษ ก็สามารถขออภัยโทษได้ทั้งสิ้น
หลักของการลงโทษมีดังนี้

1.ทำผิด แต่ไม่ถือว่าผิด
2.ทำผิด ถือว่าผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
3.ทำผิด ถือว่าผิด แต่ได้รับการยกเว้นโทษ
4.ทำผิด ถือว่าผิด แต่ได้รับการลงโทษสถานเบา
5.ทำผิด ถือว่าผิด ได้รับโทษแล้ว แต่ได้รับการลดโทษ

การขออภัยโทษ สามารถทำได้ทุกกรณี 5 ข้อข้างต้น

รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ ผู้ต้องโทษคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ประหารชีวิต สามารถยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ ดังนั้น ไม่ว่าโทษอื่นใด ที่ลดหลั่นลงมา จึงสามารถขออภัยโทษได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดจากคดีธรรมดา หรือคดีการเมืองก็ตาม เพราะโทษประหารชีวิตเป็นโทษสูงสุดที่มนุษย์พึงจะได้รับ จากการทำผิดทั้งผิดกฎหมายและหรือผิดศีลธรรม

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย ที่จะมาอ้างเป็นเหตุยับยั้งการขออภัยโทษ ไม่ว่าบุคคลจะเป็นใคร หรือทำความผิดเช่นใดมาก็ตาม กระทำถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาตัดสิน และไม่เป็นการขัดต่อศาลใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากศาลทุกศาล อยู่ภายใต้การให้อำนาจของกษัตริย์ ให้ทำหน้าที่แทน ตัวแทนจึงไม่มีอำนาจสูงกว่าตัวจริง จึงไม่ใช่การทำลายระบบยุติธรรม และกฎหมายทุกฉบับในประเทศไทย รวมถึงทั่วโลก ต่างก็มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนยอมรับได้ คือ ข้อยกเว้น ว่า ไม่ผิด หรือผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือต้องโทษแต่ได้รับการงดเว้นการลงโทษ

การขออภัยโทษ ไม่ใช่ทุกกรณีที่ได้รับการอภัย ดังนั้น ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจในการพิจารณาองค์ประกอบความผิด สาเหตุ หลักการ และเหตุผล รวมกันหลายประการ จึงจะมีการอภัยโทษได้

สำหรับการนิรโทษกรรม (Amnesty) หมายถึง การยกเว้นไม่ต้องรับโทษ และถือเสมือนว่า ไม่เคยต้องโทษมาก่อนเลย ซึ่งแตกต่างจากขออภัยโทษ ที่มีบทลงโทษแล้ว จึงขอให้อภัยโทษที่มี 2 อย่างนี้ จึงแตกต่าง ไม่เหมือนกันในแง่ของกฎหมาย

1 ความคิดเห็น: