Custom Search

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักกฎหมายสิทธิเสรีภาพของประชาชน

หลักกฎหมายสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โดยทั่วไป ประชาชนย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ แสดงออกหรือทำอะไรก็ได้ภายใต้กฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็น การชุมนุมทั่วไป การเขียนบทความ การรับฟัง การพูดจาปราศัย การแสดงความไม่เห็นด้วย เป็นต้น เหล่านี้ ประชาชนทั่วไปย่อมสามารถทำได้ตราบเท่าที่ไม่ไปกระทบกระเทือนถึงคนอื่นให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม

กฎหมายที่อนุญาตให้ชุมนุมได้ แสดงออกถึงการให้เสรีภาพในการแสดงสิทธิทุกอย่างข้างต้น แต่ถ้าไปสร้างความทุกข์ร้อนกับคนทั่วไป สาธารณชน หรือคนกลุ่มใด คนที่เดือดร้อน ย่อมใช้สิทธิให้การชุมนุมระงับ หรือหยุดรบกวนได้เช่นกัน เช่น ชุมนุมแล้วก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง เกิดการจราจรติดขัดเกินกว่าธรรมดา เช่นนี้ คนที่เดือดร้อนย่อมต้องใช้สิทธิเพื่อยับยั้งได้ และถ้าชุมนุมแล้วเกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย ตำรวจย่อมมีหน้าที่จับเปรียบเทียบปรับ หรือกักขัง แล้วแต่กรณี สามารถดำเนินการได้ทันทีเช่นกัน

การปล่อยให้สิทธิชุมนุม เหนือกว่าสิ่งใด ย่อมเป็นผลร้ายแก่สังคมส่วนรวม และอาจกลายเป็นธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติที่ไม่ดี และก่อให้เกิดความขัดแย้งตามมาในอีกหลายด้าน และส่งผลให้กฎหมายใช้การไม่ได้ และอาจทำลายความน่าเชื่อถือตามกติกาของสังคมลง กว่าคนจะรู้สึกว่าชุมนุมแล้ว ผลร้ายมีมากมายหลายด้านก็คงไปกันใหญ่แล้ว

ฉะนั้น การชุมนุมหากเกิดผลร้ายด้านใดขึ้น ต้องดำเนินการยับยั้งทันที เพื่อให้เกิดระเบียบ ความสงบต่อสังคมส่วนรวม และเพื่อประเพณีอันดีงามของประชาชน และต้องสร้างสำนึกร่วมกันให้การชุมนุม คำนึงถึงผลต่อสังคมส่วนรวมด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น